Monday, April 5, 2010

ผักกาดหัว


ผักกาดหัวเป็นพืชผักที่ปลูกเพื่อบริโภคส่วนของรากที่ขยายใหญ่ขึ้น เนื้อในสีขาว ใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทแกงจืด

การปลูก

ระยะปลูก
หว่านโดยใช้อัตราเมล็ดพันธ์ 2-3 กิโลกรัม/ไร่ ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ ระยะระหว่างหลุมห่างกันประมาณ 25 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถวห่างกันประมาณ 30 เซนติเมตร
การเตรียมดิน
ไถดินให้ลึกประมาณ 30-40 เซนติเมตร ตากดินไว้ 1-2 อาทิตย์ แล้วย่อยดินให้ละเอียด หว่านปูนขาวในอัตรา 100-300 กิโลกรัม/ไร่ ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตรา 2,000 กิโลกรัม/ไร่ ปุ๋ยสููตร 15-15-15 อัตรา 30-50 กิโลกรัม/ไร่ คลุกเคล้าให้ทั่วแล้วยกแปลงให้สูงประมาณ 30 เซนติเมตร กว้าง 120 เซนติเมตร
วิธีปลูก
1. วิธีหยอดเมล็ด หลังจากเตรียมดินแล้วให้ทำหลุมเล็กๆ ตามระยะปลูกที่กำหนดไว้ หยอดเมล็ดในหลุม หลุมละประมาณ 3 เมล็ด กลบดินหนาประมาณ 0.5 เซนติเมตร รดน้ำให้ชุม แล้วคลุมฟางแห้งหรือหญ้าแห้งเพื่อช่วยรักษาดินในระยะแรก หลังต้นกล้าออกประมาณ 15 วัน หรือมีใบจริงประมาณ 2-3 ใบ ให้ถอนแยกหลุมละ 1 ต้น
2. วิธ๊หว่าน หว่านให้ทั่วแปลงอย่างสม่ำเสมอ รดน้ำให้ชุ่มแล้วคลุมฟางแห้งหรือหญ้าแห้งเพื่อช่วยรักษาดินในระยะแรก หลังต้นกล้างอกประมาณ 15 วัน หรือมีใบจริงประมาณ 2-3 ใบให้ถอนแยกต้นให้ห่างกันตามระยะกำหนด

การดูแลรักษา
การให้น้ำ
ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ และเพียงพอทั้งเช้า-เย็น ในระยะใกล้ดก็บเกี่ยว 7-10 วัน ควรหยุดการให้น้ำเพราะจะทำให้หัวผักกาดแตกเป็นรอย
การใส่ปุ๋ย
ปุ๋ยที่เหมาะสมคือปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 15-15-15 ใส่ในอัตรา 50-100 กิโลกรัม/ไร่ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน การใส่ให้แบ่งใส่2ครั้ง ครั้งแรกครึ่งหนึ่งใส่เป็นปุ๋ยรองพื้น แล้วพรวนดินกลบลงในดิน ครั้งที่สองใส่อีกครึ่งหนึ่งเมื่อต้นกล้าอายุประมาณ 20-25 วัน โดยใส่แบบโรยข้างต้นแล้วพรวนดินกลบ นอกจากนี้ในระยะเจริญเติบโตอาจใส่ปุ๋ยเสริม เช่น ยูเรีย หรือแอมโมเนียมไนเตรท อัตรา 10 กิโลกรัม/ไร่
การเก็บเกี่ยว
มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 45-60 วัน ถ้าถึงอายุการเก็บเกี่ยวแล้วให้รีบเก็บเกี่ยวทันที อย่าปล่อยเกินอายุ เพราะจะทำให้คุณภาพของหัวลดลง

การป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิถี

ชนิดศัตรูพืช - เพลี้ยอ่อน ด้วงหมัดผัก เสี้ยนดิน
การป้องกัน - ฉีดพ่นด้วยสารสะเดา หรือ BT (โนโวดอร์) ฉีดพ่นเมตาโรเซียมที่ดิน

ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือบางกอก รายสัปดาห์
รูปจาก google.com

Friday, March 26, 2010

มะเขือยาว/มะเขือม่วง

มะเขือยาว/มะเขือม่วงเป็นพืชผักเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่มีอนาคต เนื่องจากปลูกง่าย เก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานและปัจจุบันสามารถส่งออกได้

การปลูก
ระยะปลูก
ระหว่างต้น 80 เซนติเมตร ระหว่างแถว 100 เซนติเมตร
การเตรียมดิน
ไถดินให้ลึก 30-40 เซนติเมตร ตากดินไว้ 7-10 วัน ย่อยดินให้ละเอียด หว่านปูนขาวในอัตรา 100-200 กิโลกรัม / ไร่ ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตรา 2,000 กิโลกรัม/ไร่ และใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัม/ไร่ คลุกเคล้าในแปลง ยกแหลงให้สูงประมาณ 30 เซนติเมตร กว้าง 120 เซนติเมตร
การเตรียมกล้า
ใส่ดินผสมในถาดเพาะกล้า (ดินที่ร่อนแล้ว 3 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ทรายหรือแกลบ 1 ส่วน) รดน้ำ และหยอดเมล็ดลงในถาดหลุม หลุมละ 1 เมล็ด รดน้ำเช้า-เย็น
วิธีปลูก
ขุดหลุมปลูกลึกประมาณ 10-20 เซนติเมตร นำกล้ามะเขือยาวที่มีอายุ 15 วัน หรือมีใบจริง 3-4 ใบมาปลูกตามหลุมที่กำหนด กลบดินและรดน้ำ

การดูแลรักษา
การให้น้ำสม่ำเสมอ หลังย้ายกล้าทุกเช้า-เย็น เมื่อกล้าตั้งตัวดีแล้วจึงรดน้ำเพียงวันละ1ครั้ง
การใส่ปุ๋ย
หลังย้ายปลูก 7-10 วันใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 30 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อเร่งการเจริญเติบโตใส่ป๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 8-24-24 อัตรา 50-100 กิโลกรัม/ไร่โดยทยอยแบ่งใส่ในช่วงออกดอกติดผล ทุก 20 วัน
การเก็บเกี่ยว
อายุการเก็บเกี่ยว 65-70 วัน หรือหลังดอกบาน 7-10 วัน จะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้โดยเก็บผลที่มีขนาดพอเหมาะไม่อ่อนหรือแก่เกินไป โดยการเก็บเกี่ยวให้ขั้วติดมากับผลด้วย

การป้องกันกำจัดศัตรูพืชโยชีววิถี
ชนิดศัตรูพืช - หนอนเจาะผล เพลี้ยไฟ ด้วงเต่ามะเขือ
การป้องกัน - ฉีดพ่นด้วยสารสะเดา, BT(ฟลอร์แบค) ใช้น้ำแบบสปริงเกอร์ฉีดพ่นช่วงบ่าย

ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือบางกอก รายสัปดาห์
รูปจาก google.com

Thursday, March 18, 2010

ผักชีฝรั่ง

ผักชีฝรั่ง ใช้ส่วนใบอ่อนรับประทาน เป็นผักสดแกล้มกับน้ำพริก ลาบและอาหารประเภทยำ และใช้เป็นเครื่องปรุงต้มยำ เพื่อดับกลิ่นคาวทำให้มีกลิ่นหอม และรสชาติของอาหารดีขึ้น

การปลูก
ระยะปลูก
หว่านเมล็ดระยะ 20 x 20 เซนติเมตร
การเตรียมดิน
ไถดินลึก15-20 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ 5-7 วัน แล้วย่อยดินให้ละเอียดและปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ประมาณ 2,000 กิโลกรัม/ไร่ และปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 30-50 กิโลกรัม/ไร่
วิธีปลูก
- แบบหว่านเมล็ด นำเมล็ดผักชีฝรั่ง แช่น้ำไว้ 1 คืน หว่านให้ทั่วแปลง ควรให้น้ำ 3-5 วัน / ครั้ง
- การแยกกอ ขุดหลุมปลูก ระยะ 20 x 20 เซนติเมตร นำต้นพันธุ์ที่เตรียมไว้มาปลูกระยะตามที่กำหนด

การดูแลรักษา
การให้น้ำ
การปลูกแบบหว่านเมล็ดควรให้น้ำ 3-5 วัน/ครั้ง ระวังอย่าให้น้ำท่วมขัง การแยกกอควรให้น้ำวันละ 2 ครั้ง
การใส่ปุ๋ย
ผักชีฝรั่งอายุ 30 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 25-7-7 อัตรา 30-50 กิโลกรัม/ไร่ หลังจากนั้น 15 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 30-50 กิโลกรัม/ไร่
การพรางแสง
ใช้ตาข่ายพรางแสง ร้อยละ 60-80 จะทำให้ผักชีฝรั่งมีการเจริญเติบโต และใบผักชีฝรั่งที่ยาวขึ้น
การเก็บเกี่ยว
เก็บเกี่ยวเมื่ออายุประมาณ 120 วัน หลังหว่านเม็ด และการแยกกอ 30 วัน นับจากการย้ายกล้า การเก็บผลผลิตถอนทั้งต้นมีรากติดมาด้วย ทยอยเก็บผลผลิตต้นใหญ่ก่อน และทำการล้างดินออกจากรากและตัดแต่งใบที่เสียหรือเป็นโรคทิ้ง

การป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิถี

ชนิดศัตรูพืช - โรคโคนเน่า
การป้องกัน - ใช้เชื่อราไตรโครเดอร์ม่าโรยโคนต้น

ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือบางกอก รายสัปดาห์
รูปจาก google.com

Monday, March 8, 2010

เทคนิคการรดน้ำต้นไม้กระถางแบบประหยัด

เรามาประหยัดเวลาในการรดน้ำต้นไม้สำหรับในอาคารกันเถอะ! การเลี้ยงไม้ประดับในอาคารนั้น ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องที่ยากเย็นอะไรนักหนา แต่สำหรับผู้ที่เพิ่งจะเริ่มต้นเลี้ยงหรือผู้ที่เลี้ยงมานานแล้ว และยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจดีพอ อาจประสบปัญหาได้ เพราะการปลูกเลี้ยงไม้ประดับในอาคารนั้น ใช่ว่าจะมีเพียงแค่การรดน้ำและ การให้ปุ๋ยเท่านั้น แต่ยังมีข้อปลีกย่อยต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ที่จะนำท่านไปสู่ความสำเร็จ ในการปลูกเลี้ยง เช่น การเลือกพันธ์ไม้มาปลูกในห้องรับแขกหรือมุมโปรด เราสามารถ สอบถามจากคนขายได้ว่าไม้ชอบอากาศแบบไหน ดูแลยังไง เพราะต้นไม้ต้องการแสง น้ำ อากาศ อุณหภูมิ ความชื้นและอาหาร เช่นเดียวกับต้นไม้ที่อยู่นอกบ้าน เพราะฉะนั้น ก่อนที่คุณจะซื้อต้นไม้เข้ามาประดับภายในบ้าน คุณต้องรู้ถึงความ ต้องการของต้นไม้ว่าต้นไม้ชนิดนั้นต้องการปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตมากน้อย แค่ไหน เพราะต้นไม้แต่ละอย่างย่อมมีความต้องการที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้คุณอาจถามมา จากผู้ขายโดยตรงก็ได้ สำหรับเทคนิคที่จะนำมาเสนอในครั้งนี้คือ การให้น้ำต้นไม้ที่ประหยัดเวลาสำหรับ คนที่ไม่มีเวลารดน้ำ หรือ ให้การดูแลที่สม่ำเสมอ

ขั้นตอนการทำ
1. หาขวดแก้ว แก้วน้ำ หรือภาชนะที่สามารถใส่น้ำได้ รูปแบบตามชอบ เลือกขนาดพอเหมาะสมที่จะเอากระถางไม้ประดับมาวางด้านบนได้พอดีดูสวย (กระถางต้นไม้ ต้องไม่เล็กและใหญ่จนเกินไป)
2. ใช้เชือกด้ายดิบขนาดพอประมาณมัดรวมให้ได้ขนาดหลอดน้ำแข็ง (เลือกขนาด ปรับตามขนาดต้นไม้)



3. นำเชือกแช่น้ำให้ชุ่ม เสียบด้านล่างของกระถางต้นไม้ส่วนที่เป็นรูให้ลึก 1.5-2 ซ.ม.
4. เอาน้ำใส่ในแก้วที่เตรียมไว้เกือบเต็ม

5. นำกระถางที่เอาเชือกเสียบไว้มาวางบนแก้ว



วิธีนี้ด้นไม้สามารถดูดน้ำจากจากเชือกที่คอยลำเลียงไปใช้ได้ เพียงคุณคอยสังเกต หากน้ำลดแล้วค่อยเติม สำหรับแก้วด้านล่าง...คุณจะโชว์แก้วหรือดีไซน์ได้ตามใจชอบ เช่น การเพ้นส์สี การห่อ หรือภาชนะเป็นตัวการ์ตูนก็ได้...แค่นี้คุณก็สามารถสร้างสีสัน ให้กับมุมโปรดของคุณได้แล้วค่ะ..แล้วพบกับเทคนิคใหม่ คราวหน้านะค่ะ


ที่มา :เนื้อหา:http://www.gardencenter.co.th

รู้ได้อย่างไร...ว่าต้นไม้ป่วย?

บ่อยครั้งที่คนเรามีอาการเจ็บป่วย บ้างเป็นไข้ บ้างปวดท้อง บ้างก็ปวดหัว ซึ่งอาการทั้งหลาย เราสามารถวินิจฉัยและอาจจะหาซื้อยา
มารับประทานเองได้โดยไม่จำเป็นต้องไปหาพบแพทย์ เช่น เดียวกับอาการป่วยของพืช(Plants) ซึ่งเราก็จะสามารถดูแลรักษาได้ เพียงแต่ต้องรู้จักสังเกตสิ่งผิดปรกติที่เกิด ขึ้น กับต้นไม้(Plants)และหาสาเหตุของอาการผิดปรกตินั้น โดยสาเหตุที่ทำให้ต้นไม้(Plants)
ของคุณเกิดอาการผิดปกติ มีอยู่หลายสาเหตุด้วยกัน ซึ่งสาเหตุที่มักพบบ่อยๆ ได้แก่
1. ได้รับผลกระทบจากการทำลายของแมลง สัตว์ และ ศัตรูพืช
2. โรคพืช
3. วัชพืช
4. การขาดธาตุอาหารและอยู่สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม
5. เกิดจากพิษตกค้างของสารเคมี
ทันทีที่พบว่าสาเหตุของอาการผิดปกตินั้น คืออะไร เราจะต้องทำการป้องกัน หรือกำจัด สาเหตุนั้นในเบื้องต้น เพื่อไม่ให้เกิดการระบาด
โดยเลือกวิธีการที่เหมาะสม อาจไม่จำเป็นต้อง ใช้สารเคมี ก็สามารถป้องกัน และกำจัดอาการผิดปรกตินั้นๆได้

วิธีการสังเกตอาการผิดปกติของพืช(Plants) สามารถทำได้ ดังนี้
1. การทำลายของแมลงศัตรูพืชส่วนใหญ่จะเข้าทำลายกัดกินส่วนของบลำต้น ใบ ยอด ดอก ผล เช่น
1.1. ใบแหว่งลักษณะเหมือนการถูกกัดกิน เกิดจากการกัดกินของแมลงทั่วไป เช่น ตั๊กแตน หนอนผีเสื้อ ด้วงเต่า หอยทาก หรือ พวกด้วง ฯลฯ เบื้องต้นหมั่นสำรวจหาแมลง ถ้าพบให้ใช้วิธีจับ ตัวเต็มวัย หรือไข่มาทำลาย
1.2. ใบแห้งเป็นหย่อม ใบเหลือง เหี่ยวเฉา หรือใบเหลืองซีด เกิดจากเพลี้ยใบ เพลี้ยใบจะทำลาย พืช(Plants) โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช(Plants)ในบริเวณใบ ยอดอ่อน ดอก ระบาดในช่วงอากาศร้อนและแห้งแล้ง ป้องกันกำจัดโดยการพ่นละอองน้ำในช่วงกลางวัน เพื่อลดระดับความร้อนและเพิ่มความชื้นในอากาศ ใช้สารเคมีฉีดพ่น เช่น คาร์โบซัลแฟน โมโนโครโตฟอส ฟิโปรมิเล
1.3. ใบหรือยอดเจริญผิดปกติ และกลายเป็นสีดำ เกิดจากการทำลายของเพลี้ยอ่อน โดยการดูด น้ำเลี้ยงจากพืช(Plants) แล้วถ่ายมูลเป็นน้ำเหนียว ๆ คล้ายน้ำหวาน ซึ่งต่อมามีเชื้อราอาศัยอยู่กินมูลของเพลี้ยอ่อน ทำให้เกิดโรคเชื้อรา การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีฉีดพ่น เช่น คาร์โบซัลแฟน คาร์บาริล มาลาไธออน
1.4. ใบมีรอยแผลเป็นทางคดเคี้ยวบนแผ่นใบ เกิดจากการทำลายของหนอนชอนใบ จะกัดกิน ทำลายเนื้อใบ การป้องกันกำจัด ใช้กาวดัก หรือแสงไฟแบคไลท์ เพื่อกำจัดตัวแก่ของผีเสื้อ หรือแมลงวัน ที่เป็นแหล่งที่มาของหนอน ใช้สารเคมีฉีดพ่นสลับกัน เช่น เพอร์เมทริน คาร์โบซัลแฟน ฟิโปรนิล ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้หนอน ดื้อต่อสารเคมีที่ใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อย่างไรก็ดี อยากให้ทุกคนเข้าใจว่า โรคหรือแมลงที่เกิดกับต้นไม้(Plants) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ บางกรณีไม่จำเป็นต้องตกใจเกินเหตุ จนต้องนำใช้สารเคมีมาใช้ทุกครั้ง เพียงแต่ หยิบ เด็ด หรือ ตัด ส่วนที่พบการทำลายนั้นทิ้งไปก็สามารถควบคุมไม่ให้เกิดการระบาดรุกลาม ทั้งนี้ยังเป็นวิธีที่ปลอดภัยอีกด้วย


ที่มา :เนื้อหา:http://www.gardencenter.co.th