Monday, March 8, 2010

รู้ได้อย่างไร...ว่าต้นไม้ป่วย?

บ่อยครั้งที่คนเรามีอาการเจ็บป่วย บ้างเป็นไข้ บ้างปวดท้อง บ้างก็ปวดหัว ซึ่งอาการทั้งหลาย เราสามารถวินิจฉัยและอาจจะหาซื้อยา
มารับประทานเองได้โดยไม่จำเป็นต้องไปหาพบแพทย์ เช่น เดียวกับอาการป่วยของพืช(Plants) ซึ่งเราก็จะสามารถดูแลรักษาได้ เพียงแต่ต้องรู้จักสังเกตสิ่งผิดปรกติที่เกิด ขึ้น กับต้นไม้(Plants)และหาสาเหตุของอาการผิดปรกตินั้น โดยสาเหตุที่ทำให้ต้นไม้(Plants)
ของคุณเกิดอาการผิดปกติ มีอยู่หลายสาเหตุด้วยกัน ซึ่งสาเหตุที่มักพบบ่อยๆ ได้แก่
1. ได้รับผลกระทบจากการทำลายของแมลง สัตว์ และ ศัตรูพืช
2. โรคพืช
3. วัชพืช
4. การขาดธาตุอาหารและอยู่สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม
5. เกิดจากพิษตกค้างของสารเคมี
ทันทีที่พบว่าสาเหตุของอาการผิดปกตินั้น คืออะไร เราจะต้องทำการป้องกัน หรือกำจัด สาเหตุนั้นในเบื้องต้น เพื่อไม่ให้เกิดการระบาด
โดยเลือกวิธีการที่เหมาะสม อาจไม่จำเป็นต้อง ใช้สารเคมี ก็สามารถป้องกัน และกำจัดอาการผิดปรกตินั้นๆได้

วิธีการสังเกตอาการผิดปกติของพืช(Plants) สามารถทำได้ ดังนี้
1. การทำลายของแมลงศัตรูพืชส่วนใหญ่จะเข้าทำลายกัดกินส่วนของบลำต้น ใบ ยอด ดอก ผล เช่น
1.1. ใบแหว่งลักษณะเหมือนการถูกกัดกิน เกิดจากการกัดกินของแมลงทั่วไป เช่น ตั๊กแตน หนอนผีเสื้อ ด้วงเต่า หอยทาก หรือ พวกด้วง ฯลฯ เบื้องต้นหมั่นสำรวจหาแมลง ถ้าพบให้ใช้วิธีจับ ตัวเต็มวัย หรือไข่มาทำลาย
1.2. ใบแห้งเป็นหย่อม ใบเหลือง เหี่ยวเฉา หรือใบเหลืองซีด เกิดจากเพลี้ยใบ เพลี้ยใบจะทำลาย พืช(Plants) โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช(Plants)ในบริเวณใบ ยอดอ่อน ดอก ระบาดในช่วงอากาศร้อนและแห้งแล้ง ป้องกันกำจัดโดยการพ่นละอองน้ำในช่วงกลางวัน เพื่อลดระดับความร้อนและเพิ่มความชื้นในอากาศ ใช้สารเคมีฉีดพ่น เช่น คาร์โบซัลแฟน โมโนโครโตฟอส ฟิโปรมิเล
1.3. ใบหรือยอดเจริญผิดปกติ และกลายเป็นสีดำ เกิดจากการทำลายของเพลี้ยอ่อน โดยการดูด น้ำเลี้ยงจากพืช(Plants) แล้วถ่ายมูลเป็นน้ำเหนียว ๆ คล้ายน้ำหวาน ซึ่งต่อมามีเชื้อราอาศัยอยู่กินมูลของเพลี้ยอ่อน ทำให้เกิดโรคเชื้อรา การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีฉีดพ่น เช่น คาร์โบซัลแฟน คาร์บาริล มาลาไธออน
1.4. ใบมีรอยแผลเป็นทางคดเคี้ยวบนแผ่นใบ เกิดจากการทำลายของหนอนชอนใบ จะกัดกิน ทำลายเนื้อใบ การป้องกันกำจัด ใช้กาวดัก หรือแสงไฟแบคไลท์ เพื่อกำจัดตัวแก่ของผีเสื้อ หรือแมลงวัน ที่เป็นแหล่งที่มาของหนอน ใช้สารเคมีฉีดพ่นสลับกัน เช่น เพอร์เมทริน คาร์โบซัลแฟน ฟิโปรนิล ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้หนอน ดื้อต่อสารเคมีที่ใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อย่างไรก็ดี อยากให้ทุกคนเข้าใจว่า โรคหรือแมลงที่เกิดกับต้นไม้(Plants) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ บางกรณีไม่จำเป็นต้องตกใจเกินเหตุ จนต้องนำใช้สารเคมีมาใช้ทุกครั้ง เพียงแต่ หยิบ เด็ด หรือ ตัด ส่วนที่พบการทำลายนั้นทิ้งไปก็สามารถควบคุมไม่ให้เกิดการระบาดรุกลาม ทั้งนี้ยังเป็นวิธีที่ปลอดภัยอีกด้วย


ที่มา :เนื้อหา:http://www.gardencenter.co.th

No comments:

Post a Comment