แตงกวา / แตงร้าน เป็นพืชใช้บริโภคส่วนของผลสด มีอายเก็บเกี่ยวสั้น ผลผลิตต่ิไร่สูง ตลาดมีความต้องการสูงมาก สามารถปลูกได้ตลอดปีและปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย
การปลูก
ระยะปลูก
ระยะปลูกระหว่างต้น 60-80 เซนติเมตร ระหว่างแถว100 เซนติเมตร
การเตรียมดิน
ไถดินให้ลึก 30 - 40 เซนติเมตร ตากดินไว้ ย่อยดินให้ละเอียด หว่านปูนขาวในอัตรา 100 -200 กฺโลกรัม/ไร่ ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตรา2,000กิโลกรัม/ ไร่ และปุ๋ยสูตร 46-0-0 ผสมสูตร 15-15-15 อย่างละเท่าๆกัน อัตรา 30-50 กิโลกรัม/ไร่ คลุกเคล้าในแปลงยกแปลงสูงประมาณ 30 เซนติเมตร กว้าง 120 เซนติเมตร
วิธีปลูก
น้ำเมล็ดหยอดตามหลุม 3-5 เมล็ด กลบดินและรดน้ำ เมื่อกล้างอกมีใบจริง 2-3 ใบ ถอนต้นไม่สมบูรณ์ออกเหลือ 2 ต้น หลังปลูก 14 วัน ควรเด็ดกิ่งแขนง 5 ข้อแรก(ใบ) จากพื้นดินออกแล้วจึงเริ่มปล่อยให้ติดผลหากต้องการคุณภาพที่ดีเถาที่แตกใหม่ ควรควบคุมให้มี 2 ข้อ โดยตัดเหนือข้อที่ 2 ผลผลิตจะทยอยออกสม่ำเสมอ
การดูแลรักษา
การให้น้ำ
พืชตระกลูแตงต้องการน้ำมาก สำหรับการเจริญเติบโตของลำต้นและผลตลอดอายุการปลูก แต่การให้น้ำมากเกินไปจะทำให้ผลผลิตและขนาดของผลลดลง เนื่องจากน้ำจะชะล้างปุ๋ยไปจากบริเวณรากจำนวนครั้งในการให้น้ำขึ้นอยู่กับชนิดและลักษณะของดิน
การทำค้าง
การทำค้างรูปสามเหลี่ยม(กระโจม) สูง 1.80-2.0 เมตร ควรทำการปักไมเค้างหลังปลูกไม่เกิน7 วัน หากทำช้าอาจจะปักไม้ค้างโดนราก ทำให้รากขาด กระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช
การใส่ปุ๋ย
หลังปลูก7-15 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 30 กิโลกรัม / ไร่ เพื่องเร่งการเจริญเติบโตและผลผลิต จึงควรให้เก็นระยะๆ หลังจากใส่ปุ๋ยครั้งแรก 15-20วัน ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ผสมปุ๋ยสูตร 15-15-15 สัดส่วน1-2 อัตรา30-50 กิโลกรัม/ไร่ สำหรับในช่วงออกดอก-ติดผลให้ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 30 กิโลกรัม / ไร่ โดยใส่ทุกๆ 10 วัน
การเก็บเกี่ยว
เก็บเกี่ยวผลแตงกวาในขณะเมล็ดภายในยังอ่อน หรือเก็บในขณะที่สีของผลเปลี่ยนจากสีเขียวอ่อนเป็นสีเขีวเข้ม หรือเก็บในขณะที่เปลือกยังอ่อน อย่าปล่อยให้ผลแก่คาต้น เพราะจะทำให้ผลผลิตลดลง ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวประมาณ 5 เดือน และจะเก็บเกี่ยวได้ประาณ 100 ผลต่อต้น โดยทั่วไปแตงจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้หลังจากหยอดเมล็ด 30 -35 วัน และจะเก็บเกี่ยวหลังจากดอกบาน 10-20วัน
การป้องกันศัตรูพืชโดยชีววิถี
ชนิดศัตรูพืช - โรคราน้ำค้าง
การป้องกัน - ฉีดพ่นหรือโรยโคนต้นด้วยเชื้อไตรโครเดอร์ม่าในระยะเริ่มต้น, ฉีดพ่น BS (บาซิลลัสซับทิลิส) เก็บใบที่เป็นโรคทิ้ง
ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือบางกอก รายสัปดาห์
รูปจาก google.com
Saturday, January 9, 2010
ฟักเขียว / แฟง
ฟักเขียว / แฟง เป็นพืชทีี่ใช้บริโภคส่วนของผล สามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด ชอบดินร่วนปนทราย แดดจัด สามารถประกอบอาหารได้หลายแบบทั้งอาหารคารและอาหารหวาน
การปลูก
ระยะปลูก
ระหว่างแถว 1-1.50 ระหว่างต้น 2-2.50 เมตร เป็นพืชที่ต้องการพื้นที่ปลูกมาก
การเตรียมดิน
ไถดินลึกประมาณ 25-30 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ 1-2 อาทิตย์ แล้วย่อยดินให้ละเอียด หว่านปูนขาวประมาณ 100-300 กิโลกรัม / ไร่ ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 2,000-2,500 กิโลกรัม / ไร่ ใส่ปุ๋ยสูตร 15 -15 -15 อัตรา 30 - 50 กิโลกรัม/ไร่ คลุกเคล้าให้เข้ากัน
วิธีปลูก
หลังเตรียมแปลงปลูก และขลุดหลุมปลูกตามระยะที่กำหนด แล้วหยอดเมล็ด 2 - 3 เมล็ด / หลุม ลึกประมาณ 3-5 เซนติเมตร แล้วกลบหลุมหรือคลุมด้วยฟางแห้ง เพื่อรักษาความชื้นของดิน และรดน้ำสม่ำเสมอทุกวัน อายุ 10 - 14 วัน หรือมีใบจริง 2 - 4 ใบ ควรถอนแยกเหลือ 2 ต้นต่อหลุม
การดูแลรักษา
การให้น้ำ
ควรให้น้ำสม่ำเสมอและเพียงพอ ไม่ควรให้ฟักเขียวและแฟงขาดน้ำ โดยเฉพาะระยะออกดอกและติดผล เพราะจะทำให้ดอกร่วง และไม่ติดผล เมื่อใกล้อายุการเก็บเกี่ยวควรเลิกการให้น้ำ( 15 วัน ก่อนเก็บผลผลิต)
การใส่ปุ๋ย
อายุ 7-10 วันหลังงอกใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 30 - 50 กิโลกรัม / ไร่ สำหรับในช่วงออกดอกใส่ปุ๋ยสูตร 15 - 15- 15 และช่วงติดผลใส่ปุ๋ยสูตร 13 -13 -21 หรือสูตรใกล้เคียง อัตรา 30-50- กิโลกรัม / ไร่ โดยทยอยใส่
การทำค้าง
เมื่อฟักเริ่มเลื้อยหรือมีอายุแระมาณ 15-20 วัน ควรทำค้างหรือร้านเพื่อให้เลื้อยเกาะขึ้นไปปักไม้ค้างยาว 2-2.50 เมตร แล้วเอนปลายเข้าหากัน จากนั้นใช้ไม้ค้างพาดขวางประมาณ 2-3 ช่วง ช่วงละ 40-50 เซนติเมตร หรือทำเป็นค้างผูกเป็นร้านสูงประมาณ 1.5-2.0 เมตร เพื่อให้เหมาะสมและสะดวกต่อการทำงาน นอกจากนี้อาจใช้ค้างธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว เช่น ไม้พุ่มเล็กๆรั่วบ้าน ซึ่งเหมาะสำหรับการปลูกผักสวนครัว
การเก็บเกี่ยว
หลังหยอดเมล็ดจนถึงอายุการเก็บเกี่ยว 60-70 วัน หรือสังเกตได้จากผลว่าเริ่มมีไขสีขาวจับผลโดยใช้มีดคมๆตัดที่ขั้วของผล การเก็บควรเหลือขั้วติดไว้ด้วย เพื่อช่วยให้เก็บรักษาได้นานขึ้น
การป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิถี
ชนิดศัตรูพืช - ด้วงเต่าแตงแดง หนอนใยผัก หนอนกระทู้ผัก
การป้องกัน - ฉีดพ่นด้วยสะเดา,ยาสูบ
ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือบางกอก รายสัปดาห์
รูปจาก google.com
Labels:
การปลูกฟักเขียว,
เกษตร,
ผักสวนครัว,
พืชครัวเรือน,
ฟักเขียว,
แฟง
Subscribe to:
Posts (Atom)