Saturday, January 9, 2010

แตงกวา / แตงร้าน

แตงกวา / แตงร้าน เป็นพืชใช้บริโภคส่วนของผลสด มีอายเก็บเกี่ยวสั้น ผลผลิตต่ิไร่สูง ตลาดมีความต้องการสูงมาก สามารถปลูกได้ตลอดปีและปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย

การปลูก
ระยะปลูก
ระยะปลูกระหว่างต้น 60-80 เซนติเมตร ระหว่างแถว100 เซนติเมตร
การเตรียมดิน
ไถดินให้ลึก 30 - 40 เซนติเมตร ตากดินไว้ ย่อยดินให้ละเอียด หว่านปูนขาวในอัตรา 100 -200 กฺโลกรัม/ไร่ ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตรา2,000กิโลกรัม/ ไร่ และปุ๋ยสูตร 46-0-0 ผสมสูตร 15-15-15 อย่างละเท่าๆกัน อัตรา 30-50 กิโลกรัม/ไร่ คลุกเคล้าในแปลงยกแปลงสูงประมาณ 30 เซนติเมตร กว้าง 120 เซนติเมตร
วิธีปลูก
น้ำเมล็ดหยอดตามหลุม 3-5 เมล็ด กลบดินและรดน้ำ เมื่อกล้างอกมีใบจริง 2-3 ใบ ถอนต้นไม่สมบูรณ์ออกเหลือ 2 ต้น หลังปลูก 14 วัน ควรเด็ดกิ่งแขนง 5 ข้อแรก(ใบ) จากพื้นดินออกแล้วจึงเริ่มปล่อยให้ติดผลหากต้องการคุณภาพที่ดีเถาที่แตกใหม่ ควรควบคุมให้มี 2 ข้อ โดยตัดเหนือข้อที่ 2 ผลผลิตจะทยอยออกสม่ำเสมอ

การดูแลรักษา
การให้น้ำ
พืชตระกลูแตงต้องการน้ำมาก สำหรับการเจริญเติบโตของลำต้นและผลตลอดอายุการปลูก แต่การให้น้ำมากเกินไปจะทำให้ผลผลิตและขนาดของผลลดลง เนื่องจากน้ำจะชะล้างปุ๋ยไปจากบริเวณรากจำนวนครั้งในการให้น้ำขึ้นอยู่กับชนิดและลักษณะของดิน
การทำค้าง
การทำค้างรูปสามเหลี่ยม(กระโจม) สูง 1.80-2.0 เมตร ควรทำการปักไมเค้างหลังปลูกไม่เกิน7 วัน หากทำช้าอาจจะปักไม้ค้างโดนราก ทำให้รากขาด กระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช
การใส่ปุ๋ย
หลังปลูก7-15 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 30 กิโลกรัม / ไร่ เพื่องเร่งการเจริญเติบโตและผลผลิต จึงควรให้เก็นระยะๆ หลังจากใส่ปุ๋ยครั้งแรก 15-20วัน ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ผสมปุ๋ยสูตร 15-15-15 สัดส่วน1-2 อัตรา30-50 กิโลกรัม/ไร่ สำหรับในช่วงออกดอก-ติดผลให้ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 30 กิโลกรัม / ไร่ โดยใส่ทุกๆ 10 วัน
การเก็บเกี่ยว
เก็บเกี่ยวผลแตงกวาในขณะเมล็ดภายในยังอ่อน หรือเก็บในขณะที่สีของผลเปลี่ยนจากสีเขียวอ่อนเป็นสีเขีวเข้ม หรือเก็บในขณะที่เปลือกยังอ่อน อย่าปล่อยให้ผลแก่คาต้น เพราะจะทำให้ผลผลิตลดลง ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวประมาณ 5 เดือน และจะเก็บเกี่ยวได้ประาณ 100 ผลต่อต้น โดยทั่วไปแตงจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้หลังจากหยอดเมล็ด 30 -35 วัน และจะเก็บเกี่ยวหลังจากดอกบาน 10-20วัน

การป้องกันศัตรูพืชโดยชีววิถี

ชนิดศัตรูพืช - โรคราน้ำค้าง
การป้องกัน - ฉีดพ่นหรือโรยโคนต้นด้วยเชื้อไตรโครเดอร์ม่าในระยะเริ่มต้น, ฉีดพ่น BS (บาซิลลัสซับทิลิส) เก็บใบที่เป็นโรคทิ้ง

ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือบางกอก รายสัปดาห์
รูปจาก google.com

No comments:

Post a Comment