Sunday, December 27, 2009

แมงลัก

แมงลักเป็นพืชล้มลุกที่ใช้เป็นอาหารได้ทั้งใบและเมล็ด ส่วนที่เป็นใบนั้นมีกลิ่นฉุนใช้ประกอบอาหารเช่นเดียวกับกระเพราและโหระพา ส่วนมากใช้รับประทานกับขนมจีนหรือใส่แกงต่างๆ ส่วนเม็ดใช้ทำเป็นเมล็ดแมงลัก นำมาทำเป็นยาระบายได้ และสามารถนำมาทำเป็นอาหารเสริมลดความอ้วน

การปลูก
ระยะปลูก
ระหว่างต้น 40 เซนติเมตร ระหว่างแถว 40 เซนติเมตร
การเตรียมดิน
ไถดินลึกประมาณ 30-40 เซนติเมตร ตากดินไว้ 1-2 อาทิตย์ ย่ิอยดินให้ละเอียด หว่านปูนขาวในอัตรา 100-200 กิโลกรัม/ไร่ ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตรา 2,000 กิโลกรัม/ไร่ ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัม/ไร่ คลุกเคล้าให้ทั่วแล้วยกแปลงให้สูงประมาณ30 เซนติเมตร กว้าง 120 เซนติเมตร
วิธีปลูก
เมื่อเมล็ดงอกขึ้นมาอายุ 1 เดือน จะสูงประมาณ 1 ฟุต ก็นำปลูกลงแปลงปลูกที่เตรียมดินไว้ แต่ถ้าเมื่อถอนขึ้นมาก่อนนำไปปลูกลงดินต้องตัดยอดทิ้งก่อน หรืออาจตัดออกครึ่งต้นก็ได้ ถ้าจะยิ่งดีขึ้นควรตัดแต่งรากด้วยแมงลักที่ตัดแต่งรากจะงอกงามกว่า แม้ทั้งนี้เวลานำไปปลูกต้องรดน้ำด้วย ใช้ปลูกหลุมละ 1-2 ต้น เมื่อต้นแมงลักเตบโตกิ่งก้านใบก็จะคลุใถึงกันหมด

การดูแลรักษา
การให้น้ำ
ควรให้น้ำน้ำอย่างสมำ่เสมอ วันละ 2 ครั้ง
การใส่ปุ๋ย
ครั้งแรกใส่ปุ๋ย 25-7-7 หรือ 46-0-0 หลังเพาะกล้า 7 วัน และครั้งที่สองใส่ป๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 20-10-10 ในอัตรา 25-30 กิโลกรัม/ไร่ หลังจากครั้งแรก 15 วัน
การเก็บเกี่ยว
เมื่ออายุได้ 40-45 วัน ก็ตัดกิ่งนำไปบริโภคหรือขายได้


ขอบคุณข้อมูลดีดี จากหนังสือบางกอก
รูปจาก google.com

Thursday, December 24, 2009

กะเพรา



กะเพราเป็นพืชผักที่ใช้ใบสดประกอบอาหารเพื่อดับกลิ่นคาว และช่วยให้อาหารมีกลิ่นหอม นอกจากนั้นยังมีสรรพคุณเป็นสมุนไพร เป็นพืชที่นิยมปลูกในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นไทย มาเลเซีย

การปลูก
ระยะปลูก
ระหว่างต้น 40 เซนติเมตร ระหว่างแถว 40 เซนติเมตร
การเตรียมดิน
ไถดินลึกประมาณ 30-40 เซนติเมตร ตากดินไว้ 1-2 อาทิตย์ ย่อยดินให้ละเอียดหว่านปูนขาวในอัตรา 100-300 กิโลกรัม/ไร่ คลุกเคล้าให้ทั่วแล้วยกแปลงให้สูงประมาณ 30 เซนติเมตร กว้าง 120เซนติเมตร
วิธีปลูก
กะเพราสามารถปลูกได้โดยใช้กิ่งชำ หรือใช้เมล็ดเพาะเป็นต้นกล้า แล้วย้ายปลูกตามระห่างทั้งหมด

การดูแลรักษา
กาให้น้ำ
ควรให้เพียงพอกับความต้องการของต้นพืช
การใส่ปุ๋ย
ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตรา 30-50กิโลกรัม/ไร่ หลังเก็บเกี่ยวทุกครั้ง
การเก็บเกี่ย
ใช้มีดคมๆเก็บเกี่ยวโดยตัดแต่งกิ่งก้านที่แก่ เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ซึ่งในไม่ช้ากะเพราจะแตกกิ่งต้นออกมาเช่นเดิม (อายุเก็บเกี่ยว 40-45 วัน ) สามารถเก็บเกี่ยวได้หลายครั้งในระยะที่ไม่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิต ควรมีการตัดดอกทิ้ง เพื่อเร่งการเจริญเติบโตทางใบ

การป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิถี
ชนิดศัตรูพืช - เพลี้ยอ่อน หนอนใยผัก
การป้องกัน - ฉีดพ่นด้วยสารสะเดา BT (ฟอร์แบค)


ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือบางกอก
รูปจาก google.com

Wednesday, December 23, 2009

ฟักทอง

ฟักทอง สามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด ชอบดินร่วนปนทรายแดดจัดและการระบายน้ำดีมีคุณค่าทางอาหารสูงมีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงผิวพรรณและถนอนมสายตา นำมาประกอบอาหารหลายชนิด รับประทานได้ทั้งส่วนของผลและส่วนของยอด



การปลูก
ระยะปลูก
ระหว่างแถว1-1.50 ระหว่างต้น 2-2.50 เมตร เป็นพืชที่ต้องการพื้นที่ปลูกมาก
การเตรียมดิน
ไถดินลึกประมาณ25-30เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ 1-2 อาทิตย์ แล้วย่อยดินให้ละเอียด หว่านปูนขาวประมาณ100-300 กิโลกรัม/ไร่ ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา2,000-2,500กิโลกรัม/ไร่ ใส่ปุ๋ยสูตร15-15-15 อัตรา 30-50 กิโลกรัม/ไร่ คลุกเคล้าให้เข้ากัน
วิธีปลูก
หลังเตรียมแปลงปลูก และขุดหลุมปลูกตามระยะที่กำหนด แล้วหยอดเมล็ด 2-3 เมล็/หลุม ลึกประมาณ 3-5 เซนติเมตร แล้วกลบหลุมปลูกด้วยดินหรือคลุมด้วยฟางแห้ง เพื่อรักษาความชื้นของดิน และรดน้ำให้ชุ่ม อายุ 5-7 วัน เมล็ดงอก ควรถอนแยกเหลือ 2 ต้นต่อหลุม

การดูแลรักษา
การให้น้ำ
อายุ 7-10 วันหลังงอกใส่ปุ๋ยสูตร46-0-0 อััตรา 30-50 กิโลกรัม/ไร่ สำหรับในช่วงออกดอกใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 และติดผลใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือสูตรใกล้เคียง อัตรา 30-50 กิโลกรับ/ไร่ โดยทยอยใส่
การผสมเกสร
เมื่อฟักทองออกดอกตัวเมีย ถ้าผึ้งไม่พอผสมให้เลือกดอกตัวผู้ เด็ดมาแล้วปลิดกลีบออกให้หมด นำไปเคาะละอองเกสรตัวผู้ให้ตกลงบนดอกตัวเมีย จะทำให้ฟักทองติดผลดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีเทคนิคหนึ่งก็คือนำนมผงผสมน้ำพ่นใส่ดอกฟักทองในระยะที่ดอกกำลังบาน เพื่อล่อแมลงให้มาช่วยผสมเกสร
การเก็บเกี่ยว
อายุการเก็บเกี่ยว 80-90 วัน หรือสังเกตสีเปลือก สีกลมกลืนเป็นสีเดียวกัน ดูนวลขึ้นเต็มผล การเก็บควรเหลือขั้วติดไว้ด้วย เพื่อช่วยให้เก็บรักษาได้นานขึ้น

การป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิถี
ชนิดศัตรูพืช - ด้วงเต่าแตงแดง
การป้องกัน - ฉีดพ่นด้วยสารสะเดา

ขอบคุณข้อมูลดีดี จากหนังสือบางกอก
รูปจาก google.com

Sunday, November 8, 2009

คื่นฉ่าย

คื่นฉ่าย เป็นพืชผักที่ใช้ส่วนใบและก้านรับประทานเป็นผักสดและเป็นเครื่องเทศในการปรุงอาหาร บริโภคภายในครัวเรือน จะช่วยให้อาหารมีกลิ่นหอมน่ารับประทานและยังช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อปลาได้อย่างดี

การปลูก
ระยะปลูก
นิยมใช้หว่านเมล็ดลงบนแปลงปลูกโดยใช้เมล็ดพันธุ์ 0.5 -1 กิโลกรัม/ไร่
การเตรียมดิน
ไถดินให้ลึก 20-25 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ 1-2 อาทิตย์ แล้วย่อยดินให้ละเอียด หว่านปูนขาวประมาณ 100-300กิโลกรับ/ไร่ ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตรา 2,000 กิโลกรัม/ไร่ ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา30 กิโลกรัม/ไร่ คลุกเคล้าให้ทั่วแล้วยกแปลงให้สูงประมาณ 30 เซนติเมตร กว้าง 120 เซนติเมตร คลุมฟางบางๆ แล้วรดน้ำให้ทั่วแปลงปลูก หว่านเมล็ดคื่นฉ่ายให้ผสมทรายอัตรา 1:10(เมล็ดคื่นฉ่าย:ทราย) เพราะเมล็ดเล็กและเบาทำให้การหว่านไม่สม่ำเสมอ

วิธีปลูก
รดน้ำแปลงปลูกให้ชุ่มแล้วนำเมล็ดหว่านให้กระจายทั่วทั้งแปลง อายุคื่นฉ่าย 20-30 วัน ให้ถอนแยกให้ห่างกันประมาณ 5-30 เซนติเมตร

การดูแลรักษา
การให้น้ำ
ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ วันละ 1-2 ครั้ง อย่าให้น้ำขังแฉะ เพราะจะทำให้เกิดโรคเน่าได้ หากขาดน้ำ ต้นจะชะงักการเจริณเติบโต ทำให้ต้นและใบมีสีเขียวเข้มและแข็งกระด้าง
การใส่ปุ๋ย
ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 หรือ 25-7-7 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้งหลังหว่านเมล็ด 7 วันและ 15 วัน หลังถอนแยกใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 และอายุ30-35 วัน ให้หว่านปุ๋ยสูตร 15-15-15 อีกครั้งจนกว่าสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้
การเก็บเกี่ยว
หลังจากหว่านเมล็ดคื่นฉ่ายลงแปลง อายุการเก็บเกี่ยว 40-45 วัน ทยอยเก็บผลผลิต โดยเก็บผลผลิตในช่วงเช้า ถอนต้นคื่นฉ่ายออกจากแปลงปลูกทั้งต้นและราก หลังจากนั้นล้างรากให้สะอาด

การป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิถี
ชนิดศัตรูพืช -โรคโคนเน่า
การป้องกัน - ใช้เชื้อราไตรโครเดอร์ม่าโรยโคนต้น

ชนิดศัตรูพืช -โรคใบจุด
การป้องกัน - ฉีดพ่น BS (บาซิลลัสซับทิลิส) ถอนต้นทิ้ง


ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือบางกอก
รูปจาก google.com

Thursday, November 5, 2009

มะเขือเทศ

มะเขือเทศเป็นผักที่ใช้ส่วนของผลในการประกอบอาหารสามารถรับประทานสด นำไปประกอบอาหารต่างๆ เช่น มะเขือเทศสีดาสำหรับทำส้มตำหรือน้ำพริกอ่อง มะเขือเทศผลใหญมีการปลูกสำหรับใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมทำน้ำมะเขือเทศเข้มข้นหรือซอสมะเขือเทศฤดูปลูกที่เหมาะสม คือ ฤดูหนาว แต่ปัจจุบัน มีพันธุ์ให้สามารถปลูกได้ปลูกตลอดปี

การปลูก
ระยะปลูก
ระยะปลูกระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระหว่างแถว 70 เซนติเมตร
การเตรียมดิน
ไถดินให้ลึก 30-40เซนติเมตร ตากดินไว้ 7-10 วัน ย่อยดินให้ละเอียด หว่านปูนขาวในอัตรา 100-300 กิโลกรัม/ไร่ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตรา 2,000 กิโลกรัม/ไร่ และใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัม/ไร่ คลุกด้วยถุงพลาสติก เพื่อรักษาความชื้นและป้องกันวัชพืช ควรเตรียมดินให้เสร็จก่อนปลูก 2-3 อาทิตย์
การเตรียมกล้า
เตรียมถาดเพาะกล้าและดินผสม (ดินที่ร่อนแล้ว 3 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ทรายหรือแกลบ 1 ส่วน) ใส่ดินผสมลงในถาดเพาะกล้า รดน้ำ แล้วจึงหยอดเม็ดลงในถาดเพาะกล้า หลุมละ 1 เมล็ด รดน้ำรักษาความชุ่มชื้นอย่าให้แฉะเกินไป
วิธีปลูก
ปลูกแถวคู่เจาะพลาสติกเป็นหลุมตามระยะที่กำหนด ขุดหลุมแล้วนำกล้ามะเขือเทศที่มีอายุ 30 วัน หรือมีใบจริง 2-3 ใบ มาปลูกตามหลุมกลบดินและรดน้ำ ระวังอย่าจับบริเวณโคนต้นกล้า

การดูแลรักษา
การทำค้าง
ควรปักไม้ค้างทุกหลุม และทำก่อนออกดอก โดยใช้เชือกผูกกับลำต้นให้ไขว้กันเป็นเลข 8 และผูกเงื่อนกระตุกกับค้าง เพื่อให้ต้นเจริญเติบโตได้ดี สะดวกต่อการดูแลรักษา ง่ายต่อการเก็บเกี่ยวและช่วยเพิ่มอายุการเก็บผลผลิตให้นาน
การให้น้ำ
ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงติดผล ระยะแก่ควรลดการให้น้ำเพราะจะทำให้ผลแตก
การใส่ปุ๋ย
ควรใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ในอัตรา 100 กิโลกรัม/ไร่ ครั้งแรกหลังจากย้ายกล้าปลูก 7 วัน ครั้งที่สองหลังจากใส่ครั้งที่หนึ่ง 15 วัน ครั้งที่สามหลังจากใส่ครั้งที่สอง 20 วัน
การเก็บเกี่ยว
มะเขือเทศสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เมื่ออายุประมาณ 70-90 วัน นับตั้งแต่เพาะกล้า และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานประมาณ 4-5 เดือน สำหรับมะเขือเทศ พันธุ์เลื้อย เช่นพันธุ์สีดา แต่สำหรับพันธุ์พุ่มสามารถเก็บผลผลิตได้ 6-7 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ที่ปลูกสำหรับแปรรูป หรือเข้าโรงงานอุตสาหกรรม

การป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิถี
ชนิดศัตรู - โรคใบไหม้ โรคเน่าคอดิน โรคเน่า
การป้องกัน - ตัดใบและส่วนที่เป็นโรคทิ้ง , ฉีดพ่นเชื้อไตรโครเดอร์ม่า
- รดด้วยน้ำปูนใส


ขอบคุณข้อมูลดีดี จากหนังสือบางกอก
รูปจาก google.com

Saturday, October 31, 2009

มะเขือเปราะ

มะเขือเปราะ
มะเขือเปราะเป็นผักที่ปลูกง่ายเจริญเติบโตเร็วให้ผลตอบแทนเร้ว และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานต่อเนื่องถ้ามีการดูแลรักษาที่ดี

การปลูก
ระยะปลูก
ระหว่างต้น 80 เซนติเมตร ระหว่างแถว 100 เซนติเมตร
การเตรียมดิน
ไถดินลึกประมาณ 10 - 40 เซนติเมตร ตากดินไว้ 7 - 10 วัน ย่อยดินให้ละเอียด หว่าน)ูนขาวในอัตรา 100- 200 กิโลกรัม / ไร่ ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตรา 2,000 กิโลกรัม / ไร่ และปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัม/ไร่ คลุกเคล้าให้ทั่ว ยกแปลงให้สูงประมาณ 30 เซนติเมตร กว้าง 120 เซนติเมตร
การเตรียมกล้า
ใส่ดินผสมในถาดเพาะกล้า (ดินที่ร่อนแล้ว 3 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ทรายหรือแกลบ 1 ส่วน) รดน้ำและหยอดเมล็ดลงในถาดหลุม หลุมละ1เมล็ด รดน้ำเช้า-เย็น
วิธีปลูก
ขุดหลุมปลูกลึกประมาณ 10-20 เซนติเมตร นำกล้ามะเขือเปราะที่มีอายุ 15 วัน หรือมีใบจริง 3-5ใบ มาปลุกตามหลุมที่กำหนด กลบดินและรดน้ำ

การดูแลรักษา
การให้น้ำ
ต้องให้สม่ำเสมอ หลังย้ายกล้าทุกเช้า-เย็น เมื่อกล้าตั้งตัวดีแล้วจึงรดน้ำเพียงวันละ 1 ครั้ง
การใส่ปุ๋ย
หลังย้ายปลูก 7 -20 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 30 กิโลกรัม / ไร่ เพื่อเร่งการเจริญเติบโต ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 8-24-24 อัตรา 50-100 กิโลกรัม / ไร่ โดยทยอยแบ่งใส่ในช่วงออกดอกติดผลทุก 20 วัน
การเก็บเกี่ยว
อายุการเก็บเกี่ยว 65-70 วัน หรือหลังดอกบาน 7-10 วัน จะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้โดยเก็บผลที่มีขนาดพอเหมาะไม่ออ่นหรือแก่เกินไป โดยการเก็บเกี่ยวให้ขั้วมะเขือติดมากับผลด้วย

การป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิถี
ชนิดศัตรูพืช - หนอนเจาะผล เพลี้ยไฟ ด้วงเต่ามะเขือ
การป้องกัน - ฉีดพ่นด้วยสารสะเดา , BT(ฟลอร์แบค) ใช้น้ำแบบสปริงเกอร์ฉีดพ่นช่วงบ่าย

ขอบคุณข้อมูลดีดี จากหนังสือบางกอก
รูปจาก google.com

พริกขี้หนู / พริกมัน / พริกหนุ่ม

พริกเป็นผักที่ใช้ส่วนของผลในการบริโภค คนไทยนิยมรับประทาานพรกทุกครอบครัว พริกที่ปลุกมีหลายชนิด ทั้งพริกขี้หนูผลเล็ก เช่น พริกขี้หนูสวน พริกขี้หนูใหญ่ เช่น พริกจินดา พริกผลใหญ่ เช่น พริกชี้ฟ้า พริกมัน พริกหนุ่ม และพริกเหลือง เป็นต้น

การปลูก
ระยะปลูก
ระยะปลูกที่เหมาะสมสำหรับพริกที่มีทรงพุ่มใหญ่ควรใช้ระยะระหว่างต้น 80 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างแถว 100 เซนติเมตร
การเตรียมดิน
การเตรียมแปลงเพาะ ทำเป็นแปลงขุดดินให้ลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตรตากดินไว้ให้แห้ง 5-7 วัน โรยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักให้มาก คลุกเคล้าให้ทั่ว ย่อยดินให้ละเอียด
การเตรียมแปลงปลูก ขุดดินให้ลึกประมาณ25-30 เซนติเมตร ตากดินให้แห้ง 7-10 วัน ใสปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดี อัตรา 2 - 3 ตัน / ไร่ ถ้าดินมีความเป็นกรดสูงควรใช้ปูนขาวช่วยในอัตรา 200-300 กิโลกรัม / ไร่ เพื่อช่วยลดความเป็นกรดของดิน จากนั้นก็ทำการคลุกเคล้า และย่อยดินให้มีขนาดเล้กลง ยกแปลงสูง 30 เซนติเมตร กว้าง 1.20 เมตร

การเตรียมกล้า
การเพาะกล้า หลังเตรียมแปลงเพาะกล้าแล้ว ให้หว่านเมล็ดให้กระจายทั่วแปลง หรืออาจทำเป็นแถวห่างกันแถวละ 15 เซนติเมตร ทำร่องลึกประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วโรยเมล็ดลงในร่องแล้วหว่านกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหรือดินละเอียด หนาประมาณ 0.5 - 1.0 เซนติเมตร รดน้ำให้ชุ่มและคลุมด้วยฟางแห้ง หรือ หญ้าแห้งบางๆ หลังจากต้อกล้างอกได้ 15 - 20 วัน ให้ถอนแยกต้นที่ไม่สมบูรณ์หรือต้นที่อ่อนแอออก พร้อมกันนี้พยายามจัดระยะกล้าให้ห่างกันประมาณ 10 เซนติเมตร ย้ายกล้าปลูกเมื่ออายุ 30- 40 วัน
วิธีปลูก
หลังจากเตรียมแปลงปลูก ขุดหลุมปลูตามระยะที่กำหนด และต้นกล้าได้ขนาดดีแล้วก็ทำการปลูกได้ต้นกล้าที่ย้ายปลูกได้ ควรเป็นต้นกล้าที่แข็งแรง มีอายุประมาณ 30 - 40 วัน สูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร การถอนกล้าควรมีดินติดรากมาด้วย และทำอย่างระมัดระวัง ต้นกล้าที่ย้ายมาต้องรีบปลูกทันที การปลูกควรกดดินโคนต้นพริกให้แน่น และระวังอย่าให้รากลอยจะทำให้ต้นพริกโค่นล้มง่าย เพราะพริกมีรากแผ่กระจายอยู่ใกล้ผิวดินหลังจากปลูก แล้วรดน้ำให้ชุ่ม และควรทำเพิงบังแดดอย่าให้ต้นกล้าโดนแดดจัดในระยะเริ่มย้ายปลูกใหม่ๆ เพราะต้นกล้าจะโตช้าหรือเฉาตาย

การดูแลรักษา
การให้น้ำ
ควรให้น้ำอย่างเพียงพอสม่ำเสมอ อย่าให้แฉะเกินไป การให้น้ำควรให้ทุกวันหลังปลูกจนต้นกล้าตั้งตัวได้ประมาณ 5 - 6 อาทิตย์ หลังจากนี้แล้วจึงค่อยลดปริมาณน้ำลง ซึ่งอาจจะรด1 วัน หยุด 2 วันก็ได้ ทั้งนี้ต้องดูสภาพความชื้นของดินด้วย อย่าให้แฉะเกินเกินไปเพราะจะทำให้พริกชะงักการเจิญเติบโต
การทำค้าง
สำหรับพริกมัน / พริกหนุ่ม การทำค้างและการตัดแต่งกิ่งเพื่อป้องกันไม่ให้ต้นล้ม จะทำให้ได้ผลผลิตที่สูง การตัดแต่งกิ่งควรเด็ดกิ่งแขนงออกทิ้งตั้งแต่ใบข้อแรก จนถึงใบที่ใต้ช่อดอกให้หมด เพราะถ้าไม่ตัดออกจะทำให้ทรงพุ่มหนาทึบไป ส่งผลให้ผลผลิตต่ำ
การใส่ปุ๋ย
ปุ๋ยที่แนะนำ คือ ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 14-14-21 ใส่อัตรา 100 กิโลกรัม / ไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมฐูรณ์ของดินโดยแบ่งใส่เป็น 2 ครั้ง ครั้งแรกปริมาณครึ้งหนึ่งใส่รองพื้นพรวนกลบดิน ครั้งที่สองอีกครึ่งหนึ่งเมื่ออายุพริกได้ 30 วัน หลังย้ายปลูกแบบโรยข้างต้นแล้วพรวนดิน
การเก็บเกี่ยว
พริกเป็นพืชที่มีอายุยืนและปลูกได้ผลผลิตดีตลอดปี อายุจากวันงอกจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตสดครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 65 -90 วัน ผลผลิตในระยะแรกจะน้อยแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และลดลงอีกครั้ง เมื่อเริ่มการเก็บเกี่ยง ควรเก็บทุกๆ 7 วัน ใช้วิธีเด็ดทีละผล โดยใช้เล็บจิกตรงรอยก้านผลต่อกับกิ่ง ซึ่งพริกจะได้ผลผลิตนาน 6 เดือน หรืออาจเป็นปีจนกว่าต้นเหี่ยว

การป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิถี
ชนิดศัตรูพืช - เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน
การป้องกัน - ฉีดพ่นด้วยสารสะเดา, BT(ฟลอร์แบค) บิวเวอเรีย ใช้กับดักกาวเหนียว ไว้ต์ออยล์

ชนิดศัตรูพืช - โรคแอน - แทรกโนส (โรคกุ้งแห้ง)
การป้องกัน - เก็บผลทิ่ง ฉีดพ่นด้วยเชื้อราไตรโคเอดร์ม่า และรองก้นหลุมปลูก

ขอบคุณข้อมูลดีดี จากหนังสือบางกอก
รูปจาก google.com